เป็นบุญตา!เปิดภาพ ‘หลวงพ่อโสธร’ เนื้อในองค์จริงศิลปะอยุธยาตอนต้น
ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่หาชมได้ยาก หลังวัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา ได้ทำการบูรณะปิดทองหลวงพ่อโสธร พร้อมพระหมู่บริวาร นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีการก่อสร้างพระอุโบสถหลังให
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. โลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพและข้อความ โดยเป็นภาพเนื้อด้านในขององค์หลวงพ่อโสธร ที่ถูกลอกทองออกทั้งหมด จนเห็นสีของเนื้อพระด้านใน โดยแฟนเพจ "ที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม" ได้นำภาพขององค์หลวงพ่อโสธร มาเผยแพร่ พร้อมข้อความระบุว่า "สาธุ สาธุ เป็นบุญตายิ่งนัก น้อยคนนักที่จะเคยเห็น !!! เนื้อในขององค์หลวงพ่อโสธร (องค์จริง) ซึ่งตอนนี้ทางวัดกำลังทำการบูรณะปิดทองใหม่ ในโครงการบูรณะปิดทองหลวงพ่อโสธร พร้อมพระหมู่บริวาร หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร หนึ่งในห้าพระพุทธปฏิมาที่ขึ้นชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์สัมฤทธิผล ดุจเทพบัลดาล มีเทพยดาอารักษ์เฝ้าสถิตรักษาจำนวนมาก เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ตู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้เคียงมาช้านาน ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้อมูลจากการตรวจสอบภายในหลวงพ่อโสธรโดยกรมศิลปากร พบว่า หลวงพ่อโสธรประกอบขึ้นจากหินทรายแปดชิ้น แล้วพอกปูนทับเป็นองค์ จากวัสดุที่ใช้ และพุทธศิลป์ พบว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น"
อย่างไรก็ตาม สำหรับการบูรณะดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี และกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้ดำเนินการสำรวจสภาพองค์หลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูป ของวัดโสธรวรารามวรวิหาร พบว่า พระพุทธรูปมีรอยกะเทาะแตกออก จนเห็นเนื้อใน สาเหตุการเสื่อมสภาพแตกร่อน เกิดจากการพอกทาสีด้วยวัสดุสมัยใหม่ (สีอะคริลิก) และไม่ประสานกับวัสดุดั้งเดิม และแตกร่อนออกมา และอาจมีปัญหาของความชื้นภายในอีกด้วย..
ขอบคุณข่าวจาก : เดลินิวส์